โลกของระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์ (GIS) กำลังเข้าสู่ยุคของการเติบโตและนวัตกรรมครั้งยิ่งใหญ่นับตั้งแต่เข้าสู่ปี พ.ศ. 2567 การประยุกต์ใช้เทคโนโลยี GIS ที่ในหลากหลายสาขางานในปัจจุบัน กำลังทำให้ภาคส่วนต่างๆเริ่มตะหนักถึงความสำคัญของ GIS รวมถึงเทคโนโลยีภูมิสารสนเทศ และปีหน้านี้คาดว่าก็ยังจะคงปีที่จะเห็นการเติบโตของ GIS เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องด้วยปัจจัยส่งเสริมดังต่อไปนี้
1. การส่งเสริมการพัฒนาจากภาครัฐ
ปัจจุบัน GIS กลายเป็นสิ่งที่สำคัญอย่างมากสำหรับหลายโครงการพัฒนาที่ดำเนินการโดยภาครัฐ ตั้งแต่การวางแผนเมืองใหญ่ไปจนถึงการพัฒนาพื้นฐานอาคาร สิ่งก่อสร้างทั่วโลก รัฐบาลใช้ GIS เพื่อประกอบการตัดสินใจบนพื้นฐานความจริงของข้อมูล ยกตัวอย่างเช่น นโยบายรัฐบาลอินเดียที่มุ่งเน้นให้เกิดการเปลี่ยนแปลงการพัฒนาข้อมูลดิจิทัลครั้งสำคัญ ซึ่งรวมถึงทั้งในแผนพัฒนาระดับอำเภอและระดับเมือง ข้อมูลระบบถนนและระบบรถไฟ รวมถึงการรวมข้อมูลที่ดินและกรรมสิทธิ์
การปฏิวัติดิจิทัลนี้ขยายไปสู่หลายหน่วยงานของรัฐบาล เช่น การจัดการภัยพิบัติ ความปลอดภัย และการป้องกัน โดยสรุปจากการประยุกต์ใช้และการดำเนินการในอดีต คาดว่าในปี 2567 แนวโน้มนี้จะยังคงเติบโตต่อไปอย่างต่อเนื่อง GIS มีความสำคัญในการจัดสรรทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ การจัดการภัยพิบัติ และการเพิ่มประสิทธิภาพในการให้บริการสาธารณะ ทิศทางนี้แสดงให้เห็นถึงความพึงพอใจต่อ GIS ที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อเพื่อเสริมสร้างการปกครองและการปรับปรุงกระบวนการตัดสินใจ
2. การเพิ่มขึ้นของโอกาสการเข้าถึงข้อมูลภาพถ่ายดาวเทียม
ในปี 2567 โอกาสที่เพิ่มขึ้นของการเข้าถึงข้อมูลภาพถ่ายจากดาวเทียมทั้งรายละเอียดปานกลางและรายละเอียดสูงจากแหล่งให้บริการฟรีจะมีเพิ่มมากขึ้น เป็นอีกหนึ่งปัจจัยสำคัญที่กำลังจะเปลี่ยนแปลงการประยุกต์ใช้ GIS ในหลายสาขา อาทิ การติดตามการเปลี่ยนแปลงสิ่งแวดล้อม การวางแผนเมือง การจัดการภัยพิบัติ การเกษตร การพัฒนาพื้นฐาน การจัดการทรัพยากรธรรมชาติ การช่วยเหลือทางมนุษย์ และการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมทางชีวภาพ แหล่งเผยแพร่ข้อมูลที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นนี้จะสนับสนุนให้นักวิจัยมีข้อมูลที่เพียงพอเพื่อสร้างสรรค์งานพัฒนาและงานวิจัย เพื่อนำมาประยุกต์ใช้กับนโยบายและโครงการพัฒนาต่างๆอย่างมีประสิทธิภาพ
สำหรับงานด้านภูมิสารสนเทศนั้น ภาพถ่ายจากดาวเทียมรายละเอียดละเอียดสูงนับว่ามีประโยชน์อย่างยิ่ง เนื่องจากให้ข้อมูลการเปลี่ยนแปลงอย่างชัดเจนและแม่นยำ จึงมีบทบาทสำคัญในการศึกษาการเปลี่ยนแปลงทางสิ่งแวดล้อม การเพิ่มประสิทธิภาพในการตอบสนองต่อภัยพิบัติ และการส่งเสริมการเกษตรที่แม่นยำมากขึ้น ภาพถ่ายเหล่านี้สนับสนุนให้มีการประเมินที่แม่นยำส่งเสริมการพัฒนาพื้นฐานและมีส่วนสำคัญในการจัดการทรัพยากรที่ยั่งยืน แนวโน้มการเปลี่ยนแปลงนี้สะท้อนให้เห็นถึงความก้าวหน้าที่สำคัญ ไปสู่การจัดการสิ่งแวดล้อมบนพื้นฐานความถูกต้องของข้อมูลภูมิสารสนเทศที่แม่นยำมากขึ้น จากแหล่งข้อมูลที่เข้าถึงง่ายและสะดวก
โดยมีตัวอย่างให้เห็นแล้วคือ องค์การอวกาศแห่งอินเดีย (ISRO) เริ่มให้บริการการเผยแพร่ภาพถ่ายดาวเทียมรายละเอียด 5.4 เมตร ทั่วทั้งประเทศอินเดียผ่านเว็บไซต์ โดยการนำเสนอข้อมูลที่ทันเวลา จะนำไปสู่การตัดสินใจที่รวดเร็วและแม่นยำ ในปี 2567 จึงนับว่าเป็นปีที่มีความก้าวหน้าครั้งสำคัญในการปรับปรุงความสามารถในการตัดสินใจของผู้ที่เกี่ยวข้องบนพื้นฐานของข้อมูลที่ทันสมัย
เช่นเดียวกับนโยบายของโครงการ THEOS-2 ที่จะเพิ่มโอกาสการเข้าถึงข้อมูลภาพถ่ายดาวเทียมรายละเอียดสูงที่อัพเดททันสมัยให้แก่นักวิจัย นักเรียน นักศึกษาไทย เพื่อปูทางสู่การพัฒนาแอปพลิเคชั่นหรือนวัตกรรมใหม่ๆในอนาคต
3. การบูรณาการเซ็นเซอร์ IoT สำหรับการอัพเดตข้อมูลแบบเรียลไทม์
การบูรณาการ GIS และเซ็นเซอร์ Internet of Things (IoT) จะเป็นพลังแห่งการเปลี่ยนแปลงในการรับและวิเคราะห์ข้อมูลแบบเรียลไทม์ คาดว่าแนวคิดนี้จะเติบโตในปี 2567 เพื่อเพิ่มความสะดวกในการรวบรวมข้อมูลตามสถานที่ต่างๆ การรวมข้อมูลจากเซ็นเซอร์ IoT กับข้อมูลเชิงพื้นที่ในระบบ GIS ในระดับองค์กร โดยเน้นการรวบรวมข้อมูลที่มีอยู่อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อให้มีการนำข้อมูลมาใช้งานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและราบรื่น
การบูรณาการนี้จะส่งผลกระทบไปทั่วทั้งอุตสาหกรรม เนื่องจากมีตัวอย่างมากมายที่แสดงให้เห็นว่าเซ็นเซอร์ IoT มีส่วนช่วยในการพัฒนาความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีภูมิสารสนเทศได้อย่างไร การรวมข้อมูลจากเซ็นเซอร์ IoT เข้ากับฐานข้อมูลเชิงพื้นที่สำหรับองค์กรต่างๆ จะกลายเป็นเครื่องมือที่ทรงพลังสำหรับการตัดสินใจแบบเรียลไทม์ที่ขับเคลื่อนด้วยข้อมูล
การทำงานร่วมกันนี้จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการตรวจสอบโครงสร้างพื้นฐานและสภาพแวดล้อมต่าง ๆ เช่นงานบริการด้านสาธารณูปโภค การบูรณาการดังกล่าวจะช่วยให้สามารถอัปเดตข้อมูลการจัดหาน้ำและก๊าซได้ทันที นอกจากนี้ยังสามารถติดตามปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม เช่น มลภาวะ สภาพอากาศ และการติดตามน้ำท่วมได้อย่างต่อเนื่อง
ระบบ GIS ไม่เพียงสามารถนำเสนอภาพของข้อมูลที่นำเข้ามาจากเซ็นเซอร์บนแผนที่ แต่ยังสามารถแจ้งเตือนเมื่อมีสัญญาญบ่งบอกถึงการข้ามขีดจำกัดหรือค่ามาตราฐานได้ ด้วยมุมมองที่ครอบคลุมทั่วทุกพื้นที่และแม่นยำอีกด้วย
การผนวกรวมความสามารถระหว่างเซ็นเซอร์ IoT และระบบ GIS เข้าด้วยกัน นับว่าเป็นการเชื่อมโยงสองเทคโนโลยีที่สะท้อนความก้าวหน้าไปอีกขั้น สร้างความเชื่อมั่นในการบริการจัดการ และเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้ข้อมูลเชิงพื้นที่เพื่อสนับสนุนการตัดสินใจที่ดีขึ้น
4. การประยุกต์ใช้เทคโนโลยี AI และ ML ใน GIS
การประยุกต์ใช้ Artificial Intelligence (AI) และ Machine Learning (ML) ในระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (GIS) และการสำรวจระยะไกลกำลังปฏิวัติการวิเคราะห์และการตีความข้อมูล ปัจจุบันอัลกอริธึมของ AI และ ML มีความเชี่ยวชาญในการประมวลผลชุดข้อมูลจำนวนมหาศาล สามารถแยกรูปแบบที่มีความหมายแตกต่างกันไป และทำงานที่ซับซ้อนได้โดยอัตโนมัติในโปรแกรมทางด้าน GIS และการสำรวจระยะไกล
ในปี 2567 การบูรณาการนี้จะช่วยให้โปรแกรมด้าน GIS สามารถวิเคราะห์ได้ดีขึ้น โดยเฉพาะฟังก์ชั่นการ การสกัดข้อมูลแบบอัตโนมัติ การตรวจจับวัตถุ และการจัดกลุ่มชุดข้อมูลภูมิสารสนเทศ เทคโนโลยีเหล่านี้ทำให้การวิเคราะห์ข้อมูลมีประสิทธิภาพมากขึ้นแบบไม่เคยมีมาก่อน เช่น การจำแนกสิ่งปกคลุมดิน การตรวจจับการเปลี่ยนแปลงบนพื้นผิวโลก และการตีความภาพโดยใช้อัลกอริธึมการเรียนรู้ของเครื่องขั้นสูง เช่น RCNN ที่เร็วขึ้น เป็นต้น
การทำงานร่วมกันระหว่าง AI/ML และ GIS มีบทบาทสำคัญในการสร้างแบบจำลองเพื่อช่วยให้การคาดการณ์เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อมและปรากฏการณ์ทางธรรมชาติมีความแม่นยำมากขึ้น การประยุกต์ใช้งานร่วมกันนี้ไม่เพียงจะเพิ่มความเร็วในการประมวลผลข้อมูลเท่านั้น แต่ยังเสริมความสามารถในการถอดรหัสข้อมูลเชิงพื้นที่ ซึ่งจะส่งเสริมเกิดความก้าวหน้าในการติดตามด้านสิ่งแวดล้อม การวางผังเมือง เกษตรกรรม และการจัดการภัยพิบัติ
5. การตระหนักของมนุษย์ที่มากขึ้น
ในสังคมปัจจุบัน เริ่มมีการเพิ่มขึ้นของความตระหนักรู้และการยอมรับเทคโนโลยี GIS ในประชาชนทั่วไป ทำให้ผู้คนเริ่มนำ GIS เข้ามาใช้ในชีวิตประจำวัน เช่น การใช้แอปพลิเคชั่นที่อาศัยข้อมูลตำแหน่งบนสมาร์ทโฟน เป็นต้น การมีส่วนร่วมที่เพิ่มขึ้นนี้สะท้อนถึงการรับรู้ถึงพลังและความสำคัญของ GIS ในการให้ข้อมูลเชิงพื้นที่ ในปี 2567 แนวโน้มนี้คาดว่าจะคงอยู่และเพิ่มมากขึ้นอีก ผลลัพธ์ที่ได้คือสังคมที่ตระหนักถึงภูมิสารสนเทศมากขึ้น โดยสังคมได้ตระหนักและรับรู้ถึงคุณค่าการใช้งานจริงและประโยชน์ของเทคโนโลยี GIS มาใช้ในชีวิตประจำวันอย่างมีประสิทธิภาพและเป็นประโยชน์สูงสุดในทุกๆ ด้านของพวกเขาได้อย่างเต็มที่
นับตั้งแต่เข้าสู่ปี 2567 แนวโน้มการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีภูมิสารสนเทศโดยเฉพาะ GIS ในฐานะเทคโนโลยีสนับสนุนการพัฒนาในหลากหลายสาขา ยังคงทำงานของมันได้อย่างมีประสิทธิภาพ เช่น ภาพแห่งผลกระทบจากควันไฟป่าในภาคเหนือที่ทำให้หลายคนเริ่มตะหนักเห็นถึงขนาดและความสำคัญของการเร่งแก้ปัญหา
ดังนั้นในตลอดปีนี้เราคงจะยังได้เห็นการผสมผสานระหว่างเทคโนโลยีกับข้อมูลภูมิสารสนเทศที่จะก่อให้เกิดนวัตกรรมใหม่ๆ สร้างประโยชน์ต่อสังคมอย่างต่อเนื่อง เพื่อศึกษาสิ่งที่อยู่รอบตัว สร้างความเข้าใจ และนำไปสู่การตัดสินใจอย่างมีประสิทธิภาพในทุกระดับ ตั้งแต่โครงการของรัฐบาลไปจนถึงเพื่อประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันของเราทุกคนอย่างแน่นอน
ข้อมูลโดย : สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) :GISTDA (10/4/2567)
ปัจจัยส่งเสริมการเติบโต ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ ปี 2567 | GISTDA สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน)