ข่าวสาร ดาวเทียมกับการคุ้มครองโลก 08 พฤษภาคม 2567   97   ธนิดา สุกใส #Gisda #ดาวเทียม #satellite

ดาวเทียมกับการคุ้มครองโลก 


หลายคนคงเคยได้ยินคำว่า “โลกเดือด” “โลกรวน” หรือ “โลกร้อน” กันมาบ้าง ซึ่งทุกสิ่งที่กล่าวมาล้วนส่งผลกระทบต่อโลก ต่อระบบนิเวศและชีวิตประจำวันของเราทั้งสิ้น หลายพื้นที่บนโลกเกิดปรากฎการณ์แปลกๆแบบที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนมามาย ทั้งร้อนสุด
หนาวสุด น้ำท่วมหนักสุด และสดๆร้อนๆกับเหตุการณ์พายุฝนถล่มดูไบหนักสุดๆในหลายหลายสิบปีที่ผ่านมา 22 เมษายน ของทุกปีจึงถือกำเนิดขึ้นเพื่อให้ผู้คนบนโลกตระหนักเกี่ยวกับปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมและเพื่อกระตุ้นให้ผู้คนดำเนินการเพื่ออนุรักษ์ ปรับปรุง
และฟื้นฟูสภาพแวดล้อมของเราให้สมบูรณ์ที่สุด


นอกจากการช่วยกันอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมแล้ว เทคโนโลยีอวกาศก็มีก็มีช่วยในการตรวจสอบและปกป้องระบบนิเวศโดยการใช้ดาวเทียมตรวจสอบการเปลี่ยนแปลงและส่งเสริมการใช้ที่ดินและทรัพยากรธรรมชาติอย่างมีความรับผิดชอบเพื่อปกป้องระบบนิเวศของเรา ระบบนิเวศของโลกมีความสำคัญต่อสิ่งมีชีวิตซึ่งเอื้อต่อปัจจัยขั้นพื้นฐานของการดำรงชีพ เช่น น้ำ อาหาร และอากาศที่สะอาด เป็นต้น ซึ่งดาวเทียมยังมีประโยชน์ในการตรวจสอบและปกป้องความหลากหลายทางชีวภาพของโลกอีกด้วย ตัวอย่างเช่น เทคนิคการสำรวจระยะไกลที่จะให้ข้อมูลที่สำคัญเกี่ยวกับสัตว์ป่าและแหล่งที่อยู่อาศัย, อุปกรณ์ Global Positioning System (GPS) ก็สามารถใช้เพื่อติดตามสัตว์สายพันธุ์ต่างๆ เป็นต้น


รู้จักกับประเภทของดาวเทียมที่ใช้ในการปกป้องและตรวจสอบระบบนิเวศของโลก


+ ภารกิจกลุ่มดาวเทียม RADARSAT และ RADARSAT-2 เพื่ออำนวยความสะดวกในการเฝ้าระวังทางทะเล การติดตามด้านสิ่งแวดล้อม การติดตามน้ำแข็ง การจัดการภัยพิบัติ การจัดการทรัพยากร และการทำแผนที่ทั่วโลก

 

+ ดาวเทียม SMOS หรือ Soil Moisture and Ocean Salinity เป็นดาวเทียมเพื่อทำแผนที่ความเค็มของพื้นผิวทะเล ติดตามความชื้นและความเค็มในดินในระดับโลก ศึกษาวัฏจักรของน้ำบนโลก และจัดทำแผนที่พื้นที่ที่ปกคลุมไปด้วยหิมะและน้ำแข็ง

 

+ ดาวเทียม SWOT หรือ Surface Water and Ocean Topography (อยู่ระหว่างการพัฒนา) เป็นดาวเทียมที่ใช้สำหรับสังเกตพื้นผิวมหาสมุทรและวัดว่าทะเลสาบ แม่น้ำ อ่างเก็บน้ำ และมหาสมุทรเปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลาอย่างไร

 

นอกจากนี้ ดาวเทียมไทยโชต, THEOS-2 และ THEOS-2A ซึ่งเป็นดาวเทียมสำรวจโลกของไทยที่มีประโยชน์ในการติดตามสถานการณ์ต่างๆบนผิวโลก ทั้งน้ำท่วม ไฟป่า ภัยแล้ง ทะเลและชายฝั่ง ไทยโชตได้ปฏิบัติหน้าที่บนอวกาศมาแล้วกว่า 15 ปี THEOS-2 ที่กำลังโคจรในอวกาศก็จะเริ่มใช้งานได้เต็มรูปแบบเร็วๆนี้ ส่วน THEOS-2A ก็จะส่งขึ้นสู่วงโคจรช่วงกลางปีนี้ ประเทศไทยจะมีดาวเทียมสำรวจโลกที่มีศักยภาพสูงเป็นของตัวเองถึง 3 ดวงเพื่อใช้ในการติดตามสถานการณ์ต่างๆและตรวจสอบปกป้องระบบนิเวศให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้นต่อไป



ข้อมูลโดย : สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) :GISTDA  (22/4/2567)

ดาวเทียมกับการคุ้มครองโลก | GISTDA สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน)

เลขที่ 17 ถนนพระรามที่ 1 เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330

ติดต่อสอบถาม : Tel. 0-2223-0021-9 , 0-2223-2593-5 , 0-2222-4102-9

Email : webmaster@dede.go.th

          

สงวนลิขสิทธิ์ © พ.ศ.2561 ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537