ข่าวสาร มุมมองจากอวกาศ Image of the week around the world 04 มิถุนายน 2565   8   พรชัย เอกศิริพงษ์

มุมมองจากอวกาศ Image of the week around the world
⛰ ภูเขาทารานากิ (Mount Taranaki) / ประเทศนิวซีแลนด์  
เป็นภูเขาไฟที่สมมาตร ที่สุดในโลก และมีความคล้ายคลึงกับภูเขาไฟฟูจิ
Serie 4 : พาเราไปหาเขา
พิกัด   39°17′47″S    174°03′53″E

ก่อนอื่นแอดมินจะพาทุกท่านไปทำความรู้จักกับประเทศนิวซีแลนด์กันก่อนครับ โดยนิวซีแลนด์เป็นประเทศที่มีลักษณะเป็นหมู่เกาะที่ตั้งอยู่แถบมหาสมุทรแปซิฟิกตอนใต้ มีความยาวประเทศกว่า 1,600 กิโลเมตร โดยพื้นที่ของประเทศนิวซีแลนด์จะประกอบไปด้วยเกาะใหญ่ 2 เกาะหลักๆ แบ่งเป็นเกาะเหนือและเกาะใต้ เมืองหลวงของประเทศนี้คือ เมืองเวลลิงตัน (Wellington) ได้รับการขนานนามว่า “เมืองแห่งสายลม” เพราะว่าบริเวณที่ตั้งของเมืองเปรียบเสมือนช่องลมใหญ่ ๆ ที่รับลมได้เต็มที่ ทำให้สภาพภูมิอากาศค่อนข้างแตกต่างกันตั้งแต่ทิศเหนือจรดใต้  นอกจากนั้นเมืองหลวงนี้ยังเป็นศูนย์รวมศิลปวัฒนธรรม ที่ยังคงความสวยงามของสถาปัตยกรรมไม้สไตล์วิคตอเรีย และมีจุดชมวิวที่สวยงามตรึงตาระดับโลกหรือภูเขาวิคตอเรียด้วย เสน่ห์ของเมืองจะรายล้อมไปด้วยพื้นที่ธรรมชาติและชายหาดที่เดินทางไปได้ง่ายๆ แต่จุดที่จะพาทุกท่านไปรู้จักผ่านภาพถ่ายดาวเทียมจากมุมมองอวกาศในครั้งนี้ คือ “ภูเขาไฟทารานากิ” นั่นเองครับ
.
ภูเขาไฟทารานากิ (Mount Taranaki) เป็นภูเขาไฟทรงกรวยที่มีความสมมาตรมากที่สุดในโลกและมีความคล้ายกับภูเขาไฟฟูจิ ตั้งอยู่ในอุทยานแห่งชาติ Egmont ครอบคลุมพื้นที่กว่า 7,258 กิโลเมตร ทารานากิ มีความสูง 2,518 เมตร และมียอดเขา Fanthams สูง 1,692 เมตรรวมภูเขา มีลักษณะกรวยภูเขาไฟขนาดใหญ่ที่น่าทึ่งพร้อมยอดหิมะ และเป็นที่มาของแม่น้ำและลำธารมากกว่า 50 แห่งที่มีพืชที่มีเอกลักษณ์ทางพฤกษศาสตร์และเรื่องราวตำนานมากมาย อีกทั้ง ทารานากิยังได้รับการจัดอันดับโดยคู่มือนำเที่ยวโลนลีแพลนเน็ต Best in Travel 2017 ให้เป็นภูมิภาคที่น่าไปเที่ยวมากที่สุดเป็นอันดับสองของโลกนำหน้าภูมิภาคที่มีชื่อเสี่ยงระดับโลกอื่นๆ อาทิ Azores ในโปรตุเกส North Wales ในอังกฤษ และ South Australia ภูเขาลูกนี้เปรียบเสมือนเพชรเม็ดงามบนเส้นขอบฟ้าของภูมิภาคแห่งนี้ และนักท่องเที่ยวสามารถสัมผัสเขาลูกนี้อย่างใกล้ชิดได้โดยการเดินเขาบนเส้นทาง Taranaki Pouakaki Crossing
.
สำหรับใครที่ไม่ได้ชอบอากาศหนาวเป็นพิเศษ ที่นิวซีแลนด์น่าจะเป็นคำตอบในการไปเที่ยว เพราะภูมิอากาศโดยทั่วไปของประเทศนี้มีแนวโน้มไปทาง เย็น ๆ อุ่นถึงร้อน ไม่ต่างจากประเทศไทยมากนัก แต่ก็ใช่ว่าจะไม่มีอากาศหนาวเลย เช่น โอ๊คแลนด์ (Auckland) ในช่วงฤดูหนาว อุณหภูมิจะลดลงถึง 10 องศาเซลเซียส และยิ่งถ้าเดินทางขยับไปทางตอนใต้ของนิวซีแลนด์ใครที่อยากพบเจอหิมะก็จะสามารถไปเก็บความหนาวได้เต็มที่ ก่อนจะเลือกเดินทางไปไหนควรเช็คสภาพอากาศของที่นั่น เพราะมีเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา มีฝนตกตลอดปี ซึ่งได้รับอิทธิพลจาก – ลมประจำที่พัดผ่าน คือลมฝ่ายตะวันตก – กระแสน้ำอุ่นออสเตรเลียตะวันออก โดยที่นี่ประกอบด้วย 4 ฤดูกาล คือ
🌞 ฤดูร้อน (ธันวาคม-กุมภาพันธ์)
🍂 ฤดูใบไม้ร่วง (มีนาคม-พฤษภาคม)
❄️    ฤดูหนาว (มิถุนายน-สิงหาคม)
🍃 ฤดูใบไม้ผลิ (กันยายน-พฤศจิกายน)
.
สำหรับใครที่มีความสนใจเดินทางไปเที่ยวชมประเทศนิวซีแลนด์ ซึ่งเป็นประเทศที่มีความอุดมสมบูรณ์มากแห่งหนึ่งของโลก และมีความเป็นประเทศเมืองเกาะ ทำให้แหล่งท่องเที่ยวของนิวซีแลนด์ เต็มไปด้วย ทิวเขา แม่น้ำ ชายหาด แต่การจะเดินทางจากแหล่งท่องเที่ยวหนึ่งไปยังอีกที่หนึ่งอาจต้องใช้เวลาค่อนข้างมาก ส่วนใหญ่ผู้ไปเยือนจะนิยมเช่ารถขับท่องเที่ยวกินลมชมวิวให้บรรยากาศของความสโลว์ไลฟ์นิด ๆ เพราะการใช้ชีวิตในเมืองที่เต็มไปด้วยธรรมชาติรายล้อม ทำให้มีวิวให้หยุดสายตาและพักมองได้เรื่อยๆ พร้อมทั้งมีกิจกรรมผจญภัยมันส์ ๆ ทางน้ำให้เลือกเล่นได้หลากหลาย หรือใครสนใจไปเดินเขาก็มีอุทยานแห่งชาติให้เข้าเยี่ยมชม หรือจะนั่งกระเช้าลอยฟ้าชมวิวแทนเบาๆ ก็สามารถทำได้เช่นกันครับ รับประกันได้ว่าหากมีโอกาสไปเยือนท่านจะได้หอบเอาความสุขกลับบ้านมาอย่างแน่นอนครับ
.
ขอบคุณข้อมูลจาก 🙏
https://thaiza.com/travel/foreign/509916/
https://sawadee.wiki/wiki/Mt_Taranaki
https://www.hands-on.co.th/.../get-to-know-new-zealand/
https://hmong.in.th/wiki/Mount_Taranaki/Egmont
#gistda #จิสด้า #จิสด้าก้าวสู่ปีที่22 #space #ความรู้ #ต่างประเทศ #ImageOfTheWeek #history #พาเราไปหาเขา #ทารานากิ  #นิวซีแลนด์   #สมมาตร  #ที่สุดในโลก
ติดตามภาพอื่นๆได้ที่ >>> https://www.gistda.or.th/more_news.php?c_id=409&lang=TH

เลขที่ 17 ถนนพระรามที่ 1 เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330

ติดต่อสอบถาม : Tel. 0-2223-0021-9 , 0-2223-2593-5 , 0-2222-4102-9

Email : webmaster@dede.go.th

          

สงวนลิขสิทธิ์ © พ.ศ.2561 ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537